หน่วยที่ 7
อินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต
IP (Internet protocal) Address
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันใน internet ต้องมี IP ประจำเครื่อง ซึ่ง IP นี้มีผู้รับผิดชอบคือ IANA (Internet assigned number authority) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ควบคุมดูแล IPV4 ทั่วโลก เป็น Public address ที่ไม่ซ้ำกันเลยในโลกใบนี้ การดูแลจะแยกออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ สำหรับทวีปเอเชียคือ APNIC (Asia pacific network information center) แต่การขอ IP address ตรง ๆ จาก APNIC ดูจะไม่เหมาะนัก เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เชื่อมต่อด้วย Router ซึ่งทำหน้าที่บอกเส้นทาง ถ้าท่านมีเครือข่ายของตนเองที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็ควรขอ IP address จาก ISP (Internet Service Provider) เพื่อขอเชื่อมต่อเครือข่ายผ่าน ISP และผู้ให้บริการก็จะคิดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อตามความเร็วที่ท่านต้องการ เรียกว่า Bandwidth เช่น 2 Mbps แต่ถ้าท่านอยู่ตามบ้าน และใช้สายโทรศัพท์พื้นฐาน ก็จะได้ความเร็วในปัจจุบันไม่เกิน 56 Kbps ซึ่งเป็น speed ของ MODEM ในปัจจุบัน IP address คือเลข 4 ชุด หรือ 4 Byte เช่น 203.158.197.2 หรือ 202.29.78.12 เป็นต้น แต่ถ้าเป็นสถาบันการศึกษาโดยทั่วไปจะได้ IP มา 1 Class C เพื่อแจกจ่ายให้กับ Host ในองค์กรได้ใช้ IP จริงได้ถึง 254 เครื่อง เช่น 203.159.197.0 ถึง 203.159.197.255 แต่ IP แรก และ IP สุดท้ายจะไม่ถูกนำมาใช้ จึงเหลือ IP ให้ใช้ได้จริงเพียง 254 หมายเลข 1 Class C หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.255.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 254 1 Class B หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 66,534 1 Class A หมายถึง Subnet mask เป็น 255.0.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 16,777,214
ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
เป็นแหล่งข้อมูลที่ลึก และกว้าง เพราะข้อมูลถูกสร้างได้ง่าย แม้นักเรียน หรือผู้สูงอายุก็สร้างได้
เป็นแหล่งรับ หรือส่งข่าวสาร ได้หลายรูปแบบ เช่น mail, board, icq, irc, sms หรือ web เป็นต้น
เป็นแหล่งให้ความบันเทิง เช่น เกม ภาพยนตร์ ข่าว หรือห้องสะสมภาพ เป็นต้น
เป็นช่องทางสำหรับทำธุรกิจ สะดวกทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย เช่น e-commerce หรือบริการโอนเงิน เป็นต้น
ใช้แทน หรือเสริมสื่อที่ใช้ติดต่อสื่อสาร ในปัจจุบัน โดยเสียค่าใช้จ่าย และเวลาที่ลดลง
เป็นช่องทางสำหรับประชาสัมพันธ์สินค้า บริการ หรือองค์กร
ประวัติความเป็นมา
ประวัติในระดับนานาชาติ
- พ.ศ.2512(ค.ศ.1969) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีพ.ศ.2512 นี้เองได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลองแอนเจลิส สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีพ.ศ.2518(ค.ศ.1975) จึงเปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่ หน่วยงานการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ(Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก IAB(Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ใน Internet IETF(Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น - พ.ศ.2526(ค.ศ.1983) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform และสื่อสารกันได้ถูกต้อง - การกำหนดชื่อโดเมน(Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ พ.ศ.2529(ค.ศ.1986) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย(Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น - DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2533(ค.ศ.1990) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ(National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน - ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ตัดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
ประวัติความเป็นมาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย - อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เริ่มต้นเมื่อปีพ.ศ.2530(ค.ศ.1987) โดยการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(http://www.psu.ac.th)และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (http://www.ait.ac.th) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย(http://www.unimelb.edu.au) แต่ครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ (Dial-up line) ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้า และไม่เสถียร จนกระทั่ง ธันวาคม ปีพ.ศ.2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย 6 แห่ง เข้าด้วยกัน (Chula, Thammasat, AIT, Prince of Songkla, Kasetsart and NECTEC) โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่า ไทยสาร(http://www.thaisarn.net.th) และขยายออกไปในวงการศึกษา หรือไม่ก็การวิจัย การขยายตัวเป็นไปอย่างต่อเนื่องจนเดือนกันยายน ปี พ.ศ.2537 มีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมถึง 27 สถาบัน และความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตของเอกชนมีมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย (http://www.cat.or.th) เปิดโอกาสให้ภาคเอกชน สามารถเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP - Internet Service Provider) และเปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป สามารถเชื่อมต่อ Internet ผ่านผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยอินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันทำได้หลากหลาย อาทิเช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (e-Mail) , สนทนา (Chat), อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด, การติดตามข่าวสาร, การสืบค้นข้อมูล / การค้นหาข้อมูล, การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์ , การดาวโหลด เกม เพลง ไฟล์ข้อมูล ฯลฯ, การติดตามข้อมูล ภาพยนตร์ รายการบันเทิงต่างๆ ออนไลน์, การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์, การเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning), การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference), โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP), การอับโหลดข้อมูล หรือ อื่นๆแนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ตคือการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างสังคมออนไลน์ (Social Network) ซึ่งพบว่าปัจจุบันเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าวกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็น facebook, twitter, hi5 และการใช้เริ่มมีการแพร่ขยายเข้าไปสู่การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet) มากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันสนับสนุนให้การเข้าถึงเครือข่ายผ่านโทรศัพท์มือถือทำได้ง่ายขึ้นมากปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยประมาณ 1.733 พันล้านคน หรือ 25.6 % ของประชากรทั่วโลก (ข้อมูล ณ เดือน กันยายน 2552) โดยเมื่อเปรียบเทียบในทวีปต่างๆ พบว่าทวีปที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ เอเชีย โดยคิดเป็น 42.6 % ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด และประเทศที่มีประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือประเทศจีน คิดเป็นจำนวน 360 ล้านคนหากเปรียบเทียบจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกับจำนวนประชากรรวม พบว่าทวีปอเมริกาเหนือมีสัดส่วนผู้ใช้ต่อประชากรสูงที่สุดคือ 74.2 % รองลงมาได้แก่ ทวีปออสเตรเลีย 60.4 % และ ทวีปยุโรป คิดเป็น 52.0 % ตามลำดับอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทยจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ปี 2534 (30คน) ปี 2535 (200 คน) ปี 2536 (8,000 คน) ปี 2537 (23,000 คน) ... ข้อมูลล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2551 จากจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปประมาณ 59.97 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 16.99 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 28.2 และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 10.96 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.2
ปัจจุบัน (มกราคม 2553) ประเทศไทยมี Internet Bandwidth ในประเทศ 110 Gbps และ International Internet Bandwidth 110 Gbps
เครือข่ายซึ่งนำไปสู่อินเทอร์เน็ตอาร์พาเน็ตเมื่อรอเบิร์ต เทเลอร์ได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็นหัวหน้าสำนักงานประมวลผลข้อมูลของอาร์พา เขาได้พยายามที่จะทำให้ความคิดของลิกลิเตอร์ในเรื่องระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมต่อกันเป็นจริงขึ้นมา เทเลอร์ได้ขอตัวแลร์รี รอเบิตส์จากเอ็มไอที และตั้งโครงการเพื่อสร้างเครือข่ายดังกล่าวขึ้น การเชื่อมโยงเครือข่ายอาร์พาเน็ตครั้งแรกเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส และสถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด ในวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1969 เครือข่ายได้เพิ่มเป็นสี่จุดในวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1969 โดยเพิ่มมหาวิทยาลัยยูทาห์และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนทาบาร์บารา หลังจากนั้น โดยอาศัยแนวคิดต่าง ๆ ที่ได้จากการพัฒนาอะโลฮาเน็ต อาร์พาเน็ตได้ถือกำเนิดขึ้นใน ค.ศ. 1972 และเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ใน ค.ศ. 1981 จำนวนโฮสต์ได้เพิ่มขึ้นเป็น 213 โฮสต์ และมีโฮสต์ใหม่เพิ่มขึ้นประมาณทุก ๆ 20 วันอาร์พาเน็ตได้กลายเป็นแก่นทางเทคนิคของสิ่งที่จะกลายเป็นอินเทอร์เน็ตในเวลาต่อมา และยังเป็นเครื่องมือหลักอันหนึ่งในการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต การพัฒนาอาร์พาเน็ตนั้นมีศูนย์กลางอยู่ที่กระบวนการอาร์เอฟซี ซึ่งมีไว้สำหรับการเสนอและกระจายเกณฑ์วิธีและระบบอินเทอร์เน็ต กระบวนการนี้ยังคงใช้จนกระทั่งปัจจุบัน อาร์เอฟซี 1 ซึ่งมีชื่อว่า "Host Software" เขียนโดยสตีฟ ครอกเกอร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส และตีพิมพ์เมื่อ 7 เมษายน ค.ศ. 1969 ปีแรก ๆ ของอาร์พาเน็ตได้ถูกบันทึกไว้ในภาพยนตร์สารคดีปี 1972 เรื่อง Computer Networks: The Heralds of Resource Sharing
ความร่วมมือในระดับนานาชาติบนอาร์พาเน็ตนั้นนับว่าเบาบาง ด้วยเหตุผลทางการเมืองหลายข้อ นักวิจัยในยุโรปนั้นจึงข้องเกี่ยวกับการพัฒนาเครือข่าย X.25 มากกว่า ข้อยกเว้นที่ควรบันทึกไว้ได้แก่การเข้าร่วมของกลุ่มเครื่องวัดแผ่นดินไหวนอร์เวย์ ใน ค.ศ. 1972 ตามด้วยสวีเดนใน ค.ศ. 1973 โดยการเชื่อมโยงผ่านดาวเทียมที่สถานีภาคพื้นที่เมืองทานุม และยูนิเวอร์ซิตีคอลเลจลอนดอนอนึ่ง อาร์พา (ARPA) เปลี่ยนชื่อเป็นดาร์พา (DARPA) ใน ค.ศ. 1972 และมีการเปลี่ยนชื่อกลับไปกลับมาอีกหลายครั้ง แต่อาร์พาเน็ตยังคงใช้ชื่อเดิม X.25
โดยอาศัยงานวิจัยของอาร์พา สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ได้พัฒนามาตรฐานเครือข่ายแพกเกตสวิชชิงขึ้นในรูปของ X.25 และมาตรฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อถึง ค.ศ. 1974 X.25 ได้ก่อตั้งพื้นฐานสำหรับเครือข่าย SERCnet ระหว่างสถาบันวิชาการและสถาบันวิจัยต่าง ๆ ในสหราชอาณาจักรขึ้น ซึ่งในภายหลังได้กลายเป็น JANET มาตรฐานขั้นต้นของไอทียูเกี่ยวกับ X.25 ได้รับการรับรองในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1976 โดยมาตรฐานดังกล่าวมีพื้นฐานอยู่บนแนวคิดเรื่องวงจรเสมือนสำนักงานไปรษณีย์สหราชอาณาจักร เวสเทิร์นยูเนียนอินเตอร์แนชันแนล และทิมเน็ตได้ร่วมมือกันสร้างเครือข่ายแพกเกตสวิตชิงระดับนานาชาติขึ้นเป็นครั้งแรก โดยใช้ชื่อว่า International Packet Switched Service (IPSS) ใน ค.ศ. 1978 เครือข่ายนี้เติบโตจากทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกาไปยังแคนาดา ฮ่องกง และออสเตรเลียใน ค.ศ. 1981 เครือข่ายนี้ได้กลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายระดับโลกในคริสต์ทศวรรษ 1990
ต่างจากอาร์พาเน็ต X.25 นั้นมีให้ใช้ทั่วไปเพื่อการใช้งานทางธุรกิจด้วย X.25 ได้ถูกนำไปใช้ในเครือข่ายสาธารณะเข้าถึงได้ (public access network) โดยการหมุนโทรศัพท์ในยุคแรก ๆ เช่นคอมพิวเซิร์ฟและทิมเน็ต ใน ค.ศ. 1979 คอมพิวเซิร์ฟเป็นผู้ให้บริการรายแรกที่ให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลสามารถใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ รวมทั้งมีบริการสอบถามแก้ไขปัญหาทางเทคนิคด้วย คอมพิวเซิร์ฟยังเป็นรายแรกที่ให้บริการสนทนาแบบเรียลไทม์ด้วยโปรแกรม CB Simulator นอกจากคอมพิวเซิร์ฟ ผู้ให้บริการเครือข่ายแบบหมุนโทรศัพท์รายอื่นมีอาทิ อเมริกาออนไลน์ และโพรดิจี นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (บีบีเอส) อีกหลายเครือข่าย เช่น ไฟโดเน็ต สำหรับไฟโดเน็ตนั้นเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นงานอดิเรก ซึ่งหลายคนในนั้นเป็นแฮกเกอร์และนักวิทยุสมัครเล่น UUCP
ใน ค.ศ. 1979 นักศึกษามหาวิทยาลัยดุกสองคน ได้แก่ ทอม ทรัสคอตต์ และ จิม เอลลิส ได้เกิดความคิดที่จะใช้ภาษาเชลล์สคริปต์บอร์นอย่างง่าย ๆ เพื่อส่งข่าวและข้อความผ่านสายอนุกรมกับมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา ณ แชเพิลฮิลล์ ที่อยู่ใกล้กัน หลังจากซอฟต์แวร์ดังกล่าวได้เผยแพร่สู่สาธารณะ ข่ายของโฮสต์ที่ใช้ UUCP ก็ได้ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว เครือข่ายดังกล่าว ที่ต่อมาจะใช้ชื่อ UUCPnet ยังได้สร้างเกตเวย์และการเชื่อมโยงระหว่างไฟโดเน็ตและโฮสต์บีบีเอสแบบหมุนโทรศัพท์หลาย ๆ แห่งขึ้นด้วย เครือข่าย UUCP ได้แพร่หลายอย่างรวดเร็วเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า และยังสามารถใช้สายเช่าที่มีอยู่เดิม ลิงก์ของ X.25 หรือการเชื่อมต่อของอาร์พาเน็ตได้ด้วย ใน ค.ศ. 1983 จำนวนโฮสต์ UUCP ได้เพิ่มขึ้นเป็น 550 โฮสต์ และเพิ่มเป็น 940 โฮสต์หรือเกือบสองเท่าใน ค.ศ. 1984
การรวมเครือข่ายเข้าด้วยกันและกำเนิดอินเทอร์เน็ต TCP/IP
ได้มีความพยายามที่จะรวมวิธีติดต่อของเครือข่ายต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วเข้าด้วยกัน โดยรอเบิร์ต อี. คาห์นจากดาร์พาและอาร์พาเน็ตได้ขอตัววินต์ เซิร์ฟจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเพื่อทำงานร่วมกับเขาเพื่อแก้ปัญหานี้ ใน ค.ศ. 1973 ทั้งสองได้พัฒนาแนวทางแก้ไขขั้นมูลฐานขึ้น โดยในแนวทางนี้ ความแตกต่างระหว่างเกณฑ์วิธีต่าง ๆ จะถูกซ่อนไว้โดยใช้เกณฑ์วิธีระหว่างเครือข่ายแบบใดแบบหนึ่งร่วมกัน และแทนที่ตัวเครือข่ายจะรับผิดชอบเรื่องความเชื่อถือได้ของข้อมูลอย่างในอาร์พาเน็ต โฮสต์จะเป็นผู้รับผิดชอบแทน เซิร์ฟยกความดีความชอบเกี่ยวกับงานสำคัญ ๆ ในการออกแบบเกณฑ์วิธีนี้ให้แก่ ฮิวเบิร์ต ซิมเมอร์แมน, เชราร์ เลอลาน และลุย ปูแซง (ผู้ออกแบบเครือข่าย CYCLADES)
เมื่อบทบาทของตัวเครือข่ายได้ถูกลดลงจนเหลือน้อยที่สุดแล้ว จึงเป็นไปได้ที่จะเชื่อมเครือข่ายใด ๆ แทบทุกแบบเข้าด้วยกัน ไม่ว่าคุณลักษณะของเครือข่ายนั้น ๆ จะเป็นเช่นไร อันเป็นการแก้ปัญหาขั้นต้นที่คาห์นตั้งไว้ ดาร์พาได้เห็นชอบที่จะให้เงินทุนในการพัฒนาซอฟต์แวร์ต้นแบบ และหลังจากการลงแรงเป็นเวลาหลายปี จึงได้มีการสาธิตเกตเวย์อย่างหยาบ ๆ เป็นครั้งแรกระหว่างเครือข่ายแพกเกตเรดิโอในซานฟรานซิสโกเบย์แอเรียกับอาร์พาเน็ต ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1977 ได้มีการสาธิตการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายสามแห่ง ซึ่งได้แก่ อาร์พาเน็ต, เครือข่ายแพกเกตเรดิโอ และเครือข่ายแอตแลนติกแพกเกตแซเทลไลต์ ซึ่งทั้งหมดอุปถัมภ์โดยดาร์พา ในส่วนของเกณฑ์วิธี เริ่มต้นจากข้อกำหนดคุณลักษณะรุ่นแรกของ TCP ใน ค.ศ. 1974 เกณฑ์วิธี TCP/IP ได้ก่อตัวเป็นรูปร่างซึ่งใกล้เคียงกับรูปแบบสุดท้ายในประมาณกลางปีถึงปลายปี ค.ศ. 1978 มาตรฐานที่เกี่ยวข้องได้ตีพิมพ์เป็นอาร์เอฟซี 791, 792 และ 793 และได้ถูกนำไปใช้ ดาร์พาได้อุปถัมภ์หรือส่งเสริมการพัฒนาการนำ TCP/IP ไปใช้จริงในระบบปฏิบัติการต่าง ๆ จากนั้นจึงได้กำหนดตารางเวลาในการโยกย้ายโฮสต์ทุกตัวในเครือข่ายแพกเกตของตนไปใช้ TCP/IP ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1983 เกณฑ์วิธี TCP/IP ได้กลายเป็นเกณฑ์วิธีเดียวที่ได้รับการรับรองบนอาร์พาเน็ต แทนที่เกณฑ์วิธี NCP ที่ใช้แต่เดิมการบริการบนอินเตอร์เน็ต World Wide Web
เป็นเครือข่ายย่อยของอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นในปี 1989 โดย ทิม เบอร์เนอร์ ลี นักวิศวกรรมซอฟต์แวร์จากห้องปฏิบัติการทางจุลภาคฟิสิกส์แห่งยุโรปหรือ CERN (Conseil European pour la Recherche Nucleaire) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์โดยใช้ตัวอักษรและภาพกราฟิก ข้อมูลจะอยู่ในลักษณะของมัลติมีเดีย แสดงผลในรูปของ hypertext links
บริการค้นหาข้อมูลผ่านเครือข่าย WWW (World Wide Web)
WWW เป็นบริการที่ให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตได้ง่ายและสะดวก ด้วยลักษณะของการแสดงผลในรูปของ Hypertext Links ซึ่งเป็นวิธีการที่จะเชื่อมโยงข้อมูลจากเอกสารหนึ่งไปยังเอกสารอื่น ๆ ได้อย่างสะดวก WWW จะอยู่ในลักษณะของมัลติมีเดีย (Multimedia) คือ มีทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลเกือบทุกประเภทผ่านทางเครือข่ายนี้ได้ ไม่ว่าเป็นบทความ ข่าว งานวิจัยข้อมูลสินค้า หรือบริการต่างๆ สาระบันเทิงประเภทต่างๆ รวมถึงฟังเพลงและชมภาพยนตร์โปรแกรมค้นดูเว็บ (Web Browser )
โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์จะทำงานโดยดึงข้อมูลซึ่งจัดเก็บอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า HTML (HyperText MarkupLanguage) มาจากเว็บเซิร์ฟเวอร์และแปลความหมายของรูปแบบข้อมูล ที่ได้กำหนดเอาไว้เพื่อนำเสนอแก่ผู้ใช้ Microsoft Internet Explorer (IE)
เป็นเว็บเบราว์เซอร์ ที่กำลังได้รับความนิยมมากที่สุด ผลิตโดย บริษัท Microsoft มีประสิทธิภาพสูงเป็นโปรแกรมที่จัดให้มาพร้อมกับระบบปฎิบัติการ windows ตั้งแต่ windows 95 เป็นต้นไป Plawan Browser
พัฒนาโดยคนไทย สามารถใช้งานได้ดีในระดับเดียวกับเว็บบราวเซอร์ชั้นแนวหน้าอื่นๆ แต่มีความสะดวกในการใช้งานมากกว่าทั้งนี้เนื่องจากเมนู การใช้งานสามารถสลับภาษาภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้เว็บเซิร์ฟเวอร์ (web server)
คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลทุกอย่างที่แสดงผลในเว็บไซต์ ในรูปแบบของเอกสาร HTML โดยเว็บเซิร์ฟเวอร์จะทำหน้าที่ส่งเอกสาร HTML ไปแสดงผลในเว็บบราวเซอร์ของผู้ใช้เมื่อมีการเรียกใช้วัตถุประสงค์ในการใช้อินเทอร์เน็ต 1.เพื่อการสื่อสาร (communication) เช่น e-mail chat และ webboard
2.เพื่อข้อมูลข่าวสาร (information) เป็นลักษณะของการใช้งานสารสนเทศผ่านเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ (www)
3.เพื่อความบันเทิง (entertainment) เช่น เว็บไซต์บันเทิง เกมส์คอมพิวเตอร์ การดูหนังฟังเพลง 4.เพื่อดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ (business) เช่น เป็นช่องทางโฆษณา ประชาสัมพันธ์ แสดงสินค้า และให้บริการลูกค้า เป็นต้นโปรแกรมค้นหา (Search Engine)
เป็นโปรแกรมที่คอยอ่านข้อมูลแต่ละหน้าหรือเว็บเพจจากเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยอัตโนมัติ จากนั้นจึงนำเว็บเพจที่อ่านได้มาทำดัชนีเก็บไว้ในฐานข้อมูล เป็นเครื่องมือช่วยค้นหาข้อมูลหรือเว็บเพจ, เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่ค้นหาข้อมูล รูปภาพ หรือเว็บเพจ ในรูปแบบเท็กซ์ หรืออื่นๆเป็นโปรแกรมที่คอยอ่านข้อมูลแต่ละหน้าหรือเว็บเพจจากเว็บไซต์ต่าง ๆ จากนั้นจึงนำเว็บเพจที่อ่านได้มาทำดัชนีเก็บไว้โดยอัตโนมัติเว็บไซต์ที่ให้บริการโปรแกรมค้นหาจะถูกเขียนขึ้นให้มีโปรแกรมประเภทโรบอท(Robot) สไปเดอร์(Spider) ครอเลอร์(Crawler) ทำหน้าที่เข้าไปสำรวจในเว็บไซต์ต่าง ๆ แล้วนำคำสำคัญที่มีในหน้านั้น ๆ มาทำเป็นดัชนี เพื่อส่ง URL ของเว็บนั้น ๆ มาแสดงให้ผู้ใช้ทราบโปรแกรมค้นหาแบบศัพท์ดัชนี (Index Search Engine)
เป็นโปรแกรมค้นหาที่ใช้โรบอท สไปเดอร์ หรือ ครอเลอร์ เข้าไปสำรวจข้อมูลในส่วนที่ผู้จัดทำเว็บไซต์กำหนดให้เป็นคำค้น จากเอกสาร HTML ในเว็บต่างๆ เพื่อนำคำเหล่านั้นมาจัดทำเป็นฐานข้อมูลที่ใช้สำหรับสืบค้น เหมาะกับผู้ใช้ที่ต้องการค้นหาสารสนเทศด้วยศัพท์ดัชนีที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายโปรแกรมค้นหาแบบศัพท์อิสระ (Keyword Search Engine)
เป็นโปรแกรมค้นหาทำหน้าที่เข้าไปอ่านหน้าของเอกสารของเว็บต่างๆแล้วนำคำสำคัญที่ปรากฏอยู่ในแต่ละหน้ามาจัดทำเป็นฐานข้อมูลโดยอัตโนมัติ เมื่อผู้ใช้ป้อนคำค้น โปรแกรมจะค้นคืนสารสนเทศจากคำหรือข้อความที่ตรงกับคำค้นนั้น ๆ มาแสดงและลิงค์ไปถึงได้ ผู้ใช้สามารถใช้คำ หรือวลี เพื่อใช้เป็นคำค้นได้อิสระโปรแกรมค้นหาแบบศัพท์อิสระ ได้แก่ www.google.com www.altavista.com เป็นต้นโปรแกรมค้นหาแบบหลายโปรแกรม (Meta Search Engine)
โปรแกรมค้นหาแบบหลายโปรแกรม (Meta Search Engine) โปรแกรมประเภทนี้ไม่มีการจัดทำฐานข้อมูลเป็นของตนเองแต่จะไปดึงเอาข้อมูลจากฐานข้อมูลอื่น ๆ มาแสดงผลตัวอย่างของโปรแกรมประเภทนี้ได้แก่ www.dogpile.com www.metacrawler.comค้นจากบัญชีรายชื่อเว็บไซต์ (Directory)
เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมรายชื่อของเว็บอื่น ๆ มาจัดหมวดหมู่ตามเนื้อหาในเว็บไซต์นั้น ๆ โดยจะมีเจ้าหน้าที่คัดเลือกและพิจารณาจัดหมวดหมู่ของเว็บไซต์เหล่านั้น ข้อดีก็คือ จะทำให้สามารถเลือกเฉพาะเว็บไซต์ที่มีคุณภาพดีมารวบรวมไว้ได้ ตัวอย่างของ webที่ให้บริการบัญชีรายชื่อเว็บไซต์ได้แก่ www.yahoo.com www.looksmart.com www.sanook.com www.hunsa.comเทคนิคการค้นข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ 1.คำที่ใช้ค้นเรียกว่า คำค้น (KEYWORD)
2.คำค้นควรให้ตรงประเด็น หรือ คำใกล้เคียง 3.เลี่ยงการใช้คำพูด ตัวเลขในการค้น ถ้าจำเป็นใช้ “..........”
4.การใช้เครื่องหมาย + และ – "+" หมายถึง การระบุให้ผลลัพธ์ของการค้นหาต้องมีคำนั้นปรากฏอยู่ในหน้าเว็บเพจ +เศรษฐกิจ +การเมือง หมายถึง หน้าเว็บเพจที่พบจะต้องปรากฎคำว่า "เศรษฐกิจ" และ "การเมือง" อยู่ในหน้าเดียวกันทั้งสองคำ "-" หมายถึง เป็นการระบุให้ผลลัพธ์ของการค้นหาต้องไม่ปรากฎคำนั้น อยู่ในหน้าเว็บเพจ เช่น โรงแรม -รีสอร์ท หมายถึง หน้าเว็บเพจนั้นต้องมีคำว่า โรงแรม แต่ต้องไม่ปรากฎคำว่า รีสอร์ท อยู่ โดยการใช้งานต้องอยู่ในรูปของ A -B หรือ +A -B โดย A และ B เป็นคำหลักที่ต้องการค้นหาตัวอย่าง +มะม่วง -มะม่วงอกร่อง -มะม่วงน้ำดอกไม้หมายถึง หน้าเว็บเพจที่พบจะต้องปรากฎคำว่า "มะม่วง" แต่ต้องไม่ปรากฎคำว่า "มะม่วงอกร่อง" และ "มะม่วงน้ำดอกไม้" อยู่ในหน้าเดียวกันการค้นหาข้อมูลด้วย search engine
เทคนิคการค้นหาโดยใช้คำสำคัญ (keyword) 1. คำสำคัญที่เป็นภาษาไทย 2. คำสำคัญที่เป็นภาษาอังกฤษ 3. คำสำคัญที่มีทั้ง 2 ภาษาปนกัน 1) คำสำคัญที่เป็นภาษาไทยต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ นักคณิตศาสตร์ คำสำคัญอันดับแรก ก็คือ นักคณิตศาสตร์ แต่อาจดูกว้างไป และผลการค้นหาก็มากเกินไปหลายสิบหน้า ดังนั้นจึงต้องจำกัดผลการค้นหาให้แคบลงเช่นต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก คำสำคัญที่ใช้ได้แก่ นักณิตศาสตร์ และคำว่า กรีก จะได้ผลการค้นหาจำนวนน้อยลง ง่ายที่เราจะเลือกลิงค์ที่ต้องการได้ 2) คำสำคัญที่เป็นภาษาอังกฤษถ้าต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกเป็นภาษาอังกฤษ คำสำคัญ 2 คำแรก อาจใช้ greek mathematician และถ้าใช้เครื่องหมาย “ ” คร่อมระหว่างคำสำคัญคู่ใดๆผลการค้นหาจะแตกต่างกัน“greek mathematician”
3) คำสำคัญที่เป็นภาษาไทยปนภาษาอังกฤษเช่น ต้องการเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่อง ไฟฟ้ากระแส คำสำคัญที่ใช้ได้ เช่น1) ไฟฟ้ากระแสตรง “direct current” 2) “direct current” ไฟฟ้า กระแสตรง 3) “direct current” เนื้อหา ฯลฯการใช้คำสำคัญในทางตรรกศาสตร์คำในวิชาตรรกศาสตร์ที่ใช้ได้แก่ AND OR NOT วิธีการใช้งาน มีดังนี้ 1. AND ใช้เมื่อต้องการให้ผลการค้นหาประกอบด้วยคำสำคัญที่อยู่ติดกับคำว่า AND ทั้งสองคำ เช่น “chemistry” AND “atomic theory” หมายความว่าให้ค้นหาข้อมูลที่มีคำว่า chemistry และคำว่า atomic theory ทั้ง 2 คำอยู่ในเอกสารเดียวกัน 2. OR ใช้เมื่อต้องการให้ผลการค้นหาประกอบด้วยคำสำคัญตัวใดตัวหนึ่งที่อยู่ติดกับคำ ว่า OR เช่น “physics” OR “mechanics” หมายความว่าให้ค้นหาข้อมูลที่มีคำ คำใดคำหนึ่งก็ได้ 3. NOT ใช้เมื่อต้องการให้ผลการค้นหาประกอบด้วยคำสำคัญที่อยู่หน้าคำว่า NOT แต่ไม่ต้องค้นหาคำที่อยู่หลังคำว่า NOT เช่น mathematics NOT calculus หมายความว่า ให้ค้นหาข้อมูลที่มีคำว่า mathematics แต่ต้องไม่มีคำว่า calculus อยู่ด้วย www.siamguru.com แบ่งการค้นหาเป็น 4 รูปแบบคือค้นหาเว็บไซต์ (Basic Search)
เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วๆ ไปที่ยังไม่มีความรู้มากนักค้นหาเว็บไซต์แบบซูเปอรเสิร์ช (Super Search)
เป็นบริการสืบค้นข้อมูลแบบมีเงื่อนไข สำหรับการค้นหาที่มีการเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้นค้นหาเพลง (Music Search)
บริการค้นหาเพลง , เนื้อร้อง จากเว็บเพจต่างๆ โดยสามารถค้นหาได้จากชื่อเพลง ชื่อนักร้อง ชื่ออัลบั้ม หรือ คำร้องจากท่อนใดท่อนหนึ่งก็ได้ค้นหารูปภาพ (Image Search)
บริการค้นหา ภาพถ่าย ภาพกราฟฟิก ภาพการ์ตูนมารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต
1.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น 2.ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น 3.ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น 4.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร 5.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ 6.ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์ 7.ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์ 8.ต้องไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน 9.ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน 10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาทอินทราเน็ต (INTRANET)
อินทราเน็ต เป็นการจำลองลักษณะของอินเทอร์เน็ตมาเป็นเครือข่ายภายในและใช้งานโดยบุคคลากรของบริษัท ผู้คนในบริษัทจะทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลในองค์กรเฉพาะเครือข่ายของบริษัทตนเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรอื่น ทั้งที่อยู่ในสำนักงานเดียวกันหรือต่างสาขา หรือจะอยู่คนละภูมิภาคก็สามารถสื่อสารกัน (Interfacing) ได้ เหมือนอินเทอร์เน็ตทั่วไป ด้วย Function การ Log-in มีระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มี Account ให้พนักงานแต่ละคนใช้ส่วนตัว มีระบบโต้ตอบและสนทนาได้อัตโนมัติ Intranet เป็นเว็บไซต์ที่อยู่ภายในบริษัท พนักงานสามารถเข้ามาใช้งานได้ แต่บุคคลภายนอกไม่สามารถเข้าใช้ได้ ข้อมูลในเว็บไซต์อาจจะบันทึกการทำงาน การขาด หรือลาป่วย ของพนักงาน แต่ละคน ซึ่งสามารถเข้ามาเช็คได้...ข้อดีของอินทราเน็ต ได้แก่การเป็นส่วนตัว (Privacy) ในระดับองค์กร แต่ในขณะเดียวกันสามารถเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตภายนอกได้ โดยอาศัย Protocol มาตรฐาน TCP/IP เหมือนกันเอ็กซ์ทราเน็ต (EXTRANET)
เอ็กซ์ทราเน็ต เป็นอีกลักษณะของระบบเครือข่ายที่เป็นระบบสารสนเทศระหว่างองค์กร (Inter-Organization ; I-OIS) ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างองค์กรที่มีความสัมพันธ์กัน ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ติดต่อธุรกรรมกันเป็นประจำ ระหว่างพนักงาน บริษัทคู่ค้า บริษัทลูกค้า หรือบริษัทที่เป็นพันธมิตรกันระบบเอ็กทราเนตอาศัยโครงสร้างของอินทราเนตและนเทอร์เน็ตในสื่อสารระหว่างองค์กรซึ่งจะต้องมีการเข้ารหัสต่างๆ เพื่อขออนุญาตเข้าใช้เครือข่าย มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในองค์กรระหว่างกัน นิยมใช้ในกลุ่มธุรกิจที่มีลักษณะเป็นพันธมิตรทางการค้า(Alliance) ที่อาศัยข้อมูลร่วมกัน (Collaboration Commerce; C-Commerce) เช่น ข้อมูลสต็อกสินค้า ข้อมูลลูกค้า และมีฟังก์ชั่นการทำงานในลักษณะโต้ตอบสนทนาแบบ Real time
1.คำที่ใช้ค้นเรียกว่า คำค้น (KEYWORD)
2.คำค้นควรให้ตรงประเด็น หรือ คำใกล้เคียง 3.เลี่ยงการใช้คำพูด ตัวเลขในการค้น ถ้าจำเป็นใช้ “..........”
4.การใช้เครื่องหมาย + และ – "+" หมายถึง การระบุให้ผลลัพธ์ของการค้นหาต้องมีคำนั้นปรากฏอยู่ในหน้าเว็บเพจ +เศรษฐกิจ +การเมือง หมายถึง หน้าเว็บเพจที่พบจะต้องปรากฎคำว่า "เศรษฐกิจ" และ "การเมือง" อยู่ในหน้าเดียวกันทั้งสองคำ "-" หมายถึง เป็นการระบุให้ผลลัพธ์ของการค้นหาต้องไม่ปรากฎคำนั้น อยู่ในหน้าเว็บเพจ เช่น โรงแรม -รีสอร์ท หมายถึง หน้าเว็บเพจนั้นต้องมีคำว่า โรงแรม แต่ต้องไม่ปรากฎคำว่า รีสอร์ท อยู่ โดยการใช้งานต้องอยู่ในรูปของ A -B หรือ +A -B โดย A และ B เป็นคำหลักที่ต้องการค้นหาตัวอย่าง +มะม่วง -มะม่วงอกร่อง -มะม่วงน้ำดอกไม้หมายถึง หน้าเว็บเพจที่พบจะต้องปรากฎคำว่า "มะม่วง" แต่ต้องไม่ปรากฎคำว่า "มะม่วงอกร่อง" และ "มะม่วงน้ำดอกไม้" อยู่ในหน้าเดียวกันการค้นหาข้อมูลด้วย search engine
เทคนิคการค้นหาโดยใช้คำสำคัญ (keyword) 1. คำสำคัญที่เป็นภาษาไทย 2. คำสำคัญที่เป็นภาษาอังกฤษ 3. คำสำคัญที่มีทั้ง 2 ภาษาปนกัน 1) คำสำคัญที่เป็นภาษาไทยต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ นักคณิตศาสตร์ คำสำคัญอันดับแรก ก็คือ นักคณิตศาสตร์ แต่อาจดูกว้างไป และผลการค้นหาก็มากเกินไปหลายสิบหน้า ดังนั้นจึงต้องจำกัดผลการค้นหาให้แคบลงเช่นต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก คำสำคัญที่ใช้ได้แก่ นักณิตศาสตร์ และคำว่า กรีก จะได้ผลการค้นหาจำนวนน้อยลง ง่ายที่เราจะเลือกลิงค์ที่ต้องการได้ 2) คำสำคัญที่เป็นภาษาอังกฤษถ้าต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกเป็นภาษาอังกฤษ คำสำคัญ 2 คำแรก อาจใช้ greek mathematician และถ้าใช้เครื่องหมาย “ ” คร่อมระหว่างคำสำคัญคู่ใดๆผลการค้นหาจะแตกต่างกัน“greek mathematician”
3) คำสำคัญที่เป็นภาษาไทยปนภาษาอังกฤษเช่น ต้องการเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่อง ไฟฟ้ากระแส คำสำคัญที่ใช้ได้ เช่น1) ไฟฟ้ากระแสตรง “direct current” 2) “direct current” ไฟฟ้า กระแสตรง 3) “direct current” เนื้อหา ฯลฯการใช้คำสำคัญในทางตรรกศาสตร์คำในวิชาตรรกศาสตร์ที่ใช้ได้แก่ AND OR NOT วิธีการใช้งาน มีดังนี้ 1. AND ใช้เมื่อต้องการให้ผลการค้นหาประกอบด้วยคำสำคัญที่อยู่ติดกับคำว่า AND ทั้งสองคำ เช่น “chemistry” AND “atomic theory” หมายความว่าให้ค้นหาข้อมูลที่มีคำว่า chemistry และคำว่า atomic theory ทั้ง 2 คำอยู่ในเอกสารเดียวกัน 2. OR ใช้เมื่อต้องการให้ผลการค้นหาประกอบด้วยคำสำคัญตัวใดตัวหนึ่งที่อยู่ติดกับคำ ว่า OR เช่น “physics” OR “mechanics” หมายความว่าให้ค้นหาข้อมูลที่มีคำ คำใดคำหนึ่งก็ได้ 3. NOT ใช้เมื่อต้องการให้ผลการค้นหาประกอบด้วยคำสำคัญที่อยู่หน้าคำว่า NOT แต่ไม่ต้องค้นหาคำที่อยู่หลังคำว่า NOT เช่น mathematics NOT calculus หมายความว่า ให้ค้นหาข้อมูลที่มีคำว่า mathematics แต่ต้องไม่มีคำว่า calculus อยู่ด้วย www.siamguru.com แบ่งการค้นหาเป็น 4 รูปแบบคือค้นหาเว็บไซต์ (Basic Search)
เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วๆ ไปที่ยังไม่มีความรู้มากนักค้นหาเว็บไซต์แบบซูเปอรเสิร์ช (Super Search)
เป็นบริการสืบค้นข้อมูลแบบมีเงื่อนไข สำหรับการค้นหาที่มีการเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้นค้นหาเพลง (Music Search)
บริการค้นหาเพลง , เนื้อร้อง จากเว็บเพจต่างๆ โดยสามารถค้นหาได้จากชื่อเพลง ชื่อนักร้อง ชื่ออัลบั้ม หรือ คำร้องจากท่อนใดท่อนหนึ่งก็ได้ค้นหารูปภาพ (Image Search)
บริการค้นหา ภาพถ่าย ภาพกราฟฟิก ภาพการ์ตูนมารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต
1.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น 2.ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น 3.ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น 4.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร 5.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ 6.ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์ 7.ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์ 8.ต้องไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน 9.ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน 10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาทอินทราเน็ต (INTRANET)
อินทราเน็ต เป็นการจำลองลักษณะของอินเทอร์เน็ตมาเป็นเครือข่ายภายในและใช้งานโดยบุคคลากรของบริษัท ผู้คนในบริษัทจะทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลในองค์กรเฉพาะเครือข่ายของบริษัทตนเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรอื่น ทั้งที่อยู่ในสำนักงานเดียวกันหรือต่างสาขา หรือจะอยู่คนละภูมิภาคก็สามารถสื่อสารกัน (Interfacing) ได้ เหมือนอินเทอร์เน็ตทั่วไป ด้วย Function การ Log-in มีระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มี Account ให้พนักงานแต่ละคนใช้ส่วนตัว มีระบบโต้ตอบและสนทนาได้อัตโนมัติ Intranet เป็นเว็บไซต์ที่อยู่ภายในบริษัท พนักงานสามารถเข้ามาใช้งานได้ แต่บุคคลภายนอกไม่สามารถเข้าใช้ได้ ข้อมูลในเว็บไซต์อาจจะบันทึกการทำงาน การขาด หรือลาป่วย ของพนักงาน แต่ละคน ซึ่งสามารถเข้ามาเช็คได้...ข้อดีของอินทราเน็ต ได้แก่การเป็นส่วนตัว (Privacy) ในระดับองค์กร แต่ในขณะเดียวกันสามารถเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตภายนอกได้ โดยอาศัย Protocol มาตรฐาน TCP/IP เหมือนกันเอ็กซ์ทราเน็ต (EXTRANET)
เอ็กซ์ทราเน็ต เป็นอีกลักษณะของระบบเครือข่ายที่เป็นระบบสารสนเทศระหว่างองค์กร (Inter-Organization ; I-OIS) ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างองค์กรที่มีความสัมพันธ์กัน ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ติดต่อธุรกรรมกันเป็นประจำ ระหว่างพนักงาน บริษัทคู่ค้า บริษัทลูกค้า หรือบริษัทที่เป็นพันธมิตรกันระบบเอ็กทราเนตอาศัยโครงสร้างของอินทราเนตและนเทอร์เน็ตในสื่อสารระหว่างองค์กรซึ่งจะต้องมีการเข้ารหัสต่างๆ เพื่อขออนุญาตเข้าใช้เครือข่าย มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในองค์กรระหว่างกัน นิยมใช้ในกลุ่มธุรกิจที่มีลักษณะเป็นพันธมิตรทางการค้า(Alliance) ที่อาศัยข้อมูลร่วมกัน (Collaboration Commerce; C-Commerce) เช่น ข้อมูลสต็อกสินค้า ข้อมูลลูกค้า และมีฟังก์ชั่นการทำงานในลักษณะโต้ตอบสนทนาแบบ Real time
Intranet เป็นเว็บไซต์ที่อยู่ภายในบริษัท พนักงานสามารถเข้ามาใช้งานได้ แต่บุคคลภายนอกไม่สามารถเข้าใช้ได้ ข้อมูลในเว็บไซต์อาจจะบันทึกการทำงาน การขาด หรือลาป่วย ของพนักงาน แต่ละคน ซึ่งสามารถเข้ามาเช็คได้...
ข้อดีของอินทราเน็ต ได้แก่การเป็นส่วนตัว (Privacy) ในระดับองค์กร แต่ในขณะเดียวกันสามารถเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตภายนอกได้ โดยอาศัย Protocol มาตรฐาน TCP/IP เหมือนกัน
เอ็กซ์ทราเน็ต(EXTRANET)
เอ็กซ์ทราเน็ต เป็นอีกลักษณะของระบบเครือข่ายที่เป็นระบบสารสนเทศระหว่างองค์กร (Inter-Organization ; I-OIS) ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างองค์กรที่มีความสัมพันธ์กัน ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ติดต่อธุรกรรมกันเป็นประจำ ระหว่างพนักงาน บริษัทคู่ค้า บริษัทลูกค้า หรือบริษัทที่เป็นพันธมิตรกันระบบเอ็กทราเนตอาศัยโครงสร้างของอินทราเนตและนเทอร์เน็ตในสื่อสารระหว่างองค์กรซึ่งจะต้องมีการเข้ารหัสต่างๆ เพื่อขออนุญาตเข้าใช้เครือข่าย มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในองค์กรระหว่างกัน นิยมใช้ในกลุ่มธุรกิจที่มีลักษณะเป็นพันธมิตรทางการค้า(Alliance) ที่อาศัยข้อมูลร่วมกัน (Collaboration Commerce; C-Commerce) เช่น ข้อมูลสต็อกสินค้า ข้อมูลลูกค้า และมีฟังก์ชั่นการทำงานในลักษณะโต้ตอบสนทนาแบบ Real time
อินเทอร์เน็ต(Internet) คือ เครือข่ายนานาชาติ
ที่เกิดจากเครือข่ายขนาดเล็กมากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวทั้งโลก
หรือเครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้มา
2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net ซึ่ง Inter
หมายถึงระหว่าง
หรือท่ามกลาง และคำว่า Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย
เมื่อนำความหมายของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลว่า
การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
- อินเทอร์เน็ต เป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced
Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม
ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ
ปี พ.ศ.2503(ค.ศ.1960)
อินทราเน็ต
เป็นการจำลองลักษณะของอินเทอร์เน็ตมาเป็นเครือข่ายภายในและใช้งานโดยบุคคลากรของบริษัท
ผู้คนในบริษัทจะทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลในองค์กรเฉพาะเครือข่ายของบริษัทตนเท่านั้น
ไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรอื่น ทั้งที่อยู่ในสำนักงานเดียวกันหรือต่างสาขา
หรือจะอยู่คนละภูมิภาคก็สามารถสื่อสารกัน (Interfacing) ได้
เหมือนอินเทอร์เน็ตทั่วไป ด้วย Function การ Log-in มีระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
มี Account ให้พนักงานแต่ละคนใช้ส่วนตัว มีระบบโต้ตอบและสนทนาได้อัตโนมัติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น